วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552

FORUM

[url]http://genocite.forumotion.net[/url]

วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Beatles



Chronology: Thai-Cambodian relations

In May 2008 Cambodia applies to have the Preah Vihear Temple named a World Heritage Site.

June 2008 Preah Vihear is shut down after a People's Alliance for Democracy protest at the site.

July 2008 Cambodia tries to raise the conflict at an Asean Ministerial Meeting and the United Nations Security Council.

July 2008 A ministerial meeting in Siem Reap attempts to ease the conflict.

Oct 2008 Border skirmish.

Nov 2008 First round of joint boundary commission meeting.

Dec 2008 Change of Thai government.

April 2009 Another military clash at Preah Vihear.

July 2009 Thailand repeats its opposition to the Preah Vihear inscription.

Oct 2009 Hun Sen announces he intends to offer former prime minister Thaksin Shinawatra a house and a job.

Nov 2009 Hun Sen appoints Thaksin, prompting both countries to recall their ambassadors.



Thaksin's blurring sense of patriotism is understandable. Even if he had nothing to do with the Cambodian moves, the least he could have done is show he cared about his country. Thaksin could have said "No, but thank you" to the cambodian offer, but he instead chose to inflame the situation by saying the Thai government was overreacting.



To do nothing would show the Thai government to be weak. This is finally a response to the series of insults from what was in essence Hun Sen's declaration against the current Thai government. Whether he was bought or not, Hun Sen began this situation, and I'm sure welcomes the escalation of tension.As was said, Thaksin is a mediocre businessman at best when removed from his Thai bubble of cronyism. Imagine how he would have reacted if something similar had happened while he was in power! He would have had Cambodians slaughtered wholesale (probably under the guise of a "war on drugs") throughout Thailand for the insult!Who I really pity in all of this are the poor farmers who will now have to be herded together, riled up with nationalist bs, and set loose on Thailand to fight for this one man's greed. This will only take them further from their laudable goals of equality and poverty reduction.

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

พระยามโนปกรณ์นิติธาดา


พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย ชื่อเดิมว่า "ก้อน หุตะสิงห์" เกิดวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2427 ที่จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของนายฮวด กับนางแก้ว หุตะสิงห์ สมรสกับคุณหญิงมโนปกรณ์นิติธาดา (นิตย์ สามเสน) ท่านถึงอสัญกรรม ณ ปีนัง เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2491 รวมอายุได้ 64 ปีเศษ

พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นผู้ที่จบการศึกษาวิชากฎหมายระดับเนติบัณฑิต จากประเทศอังกฤษ เป็นข้าราชการตุลาการผู้ที่ได้ชื่อว่ามือสะอาด ไม่เคยมีเรื่องด่างพร้อยมาตลอดชีวิตการรับราชการ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ท่านได้รับเลือกจากคณะราษฎรโดยนายปรีดี พนมยงค์ ให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดแรกที่มีด้วยกันทั้งหมด 70 คน ที่มาจากการแต่งตั้ง และได้รับคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศ ด้วยหวังว่าท่านจะเป็นคนกลางประสานความเข้าใจระหว่างกลุ่มผู้นิยมการปกครองแบบเก่า และกลุ่มผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง

หลังจากมีกรณีเรื่อง "สมุดปกเหลือง" เค้าโครงเศรษฐกิจที่ร่างโดยนายปรีดี ขึ้นถวายให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวินิจฉัย ซึ่งพระองค์ท่านไม่เห็นชอบด้วย ก่อให้เกิดความแตกแยกกันในหมู่สมาชิกคณะราษฎร ข้าราชการ ขุนนาง และบุคคลในสภา ฯ พระยามโนปกรณ์ ฯ เองก็ไม่เห็นชอบด้วยกับเค้าโครงเศรษฐกิจฉบับนี้ ประกอบกับได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกคณะราษฎรกลุ่มทหารที่นำโดย พระยาทรงสุรเดช ท่านจึงได้ใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรีปิดสภา พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา รวมทั้งได้เนรเทศนายปรีดี พนมยงค์ ให้กลับไปยังประเทศฝรั่งเศส และออกพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์เป็นฉบับแรกด้วย ซึ่งเรียกกันว่าท่านกระทำรัฐประหารด้วยการใช้ ปากกาด้ามเดียว ท่ามกลางความไม่พอใจของกลุ่มคณะราษฎรที่สนับสนุนนายปรีดี พนมยงค์

เหตุการณ์ความขัดแย้งเหล่านี้ ได้บานปลายนำไปสู่การรัฐประหารในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2476 ที่ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฎรได้รัฐประหารคณะรัฐบาลของท่าน และเนรเทศท่านไปยังปีนังด้วยรถไฟ พร้อมกับเรียกตัวนายปรีดีกลับมาจากฝรั่งเศส ซึ่งพระยามโนปกรณ์นิติธาดาก็ได้ใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่ที่ปีนัง ตราบจนถึงแก่อสัญกรรม

พระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและคุณวุฒิสูง แต่เป็นบุคคลที่พูดจาขวานผ่าซาก ชีวิตส่วนตัวชื่นชอบในการเดินป่าและล่าสัตว์ป่า

วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์

พลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ (เกิด 15 มกราคม พ.ศ. 2491 ที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี) อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด และเป็นหนึ่งในสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)


ในช่วงเหตุการณ์รัฐประหาร วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ขณะนั้น พล.อ.บุญสร้าง ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด และร่วมอยู่ในกองบัญชาการต่อต้านการปฏิวัติ ของ พล.อ.เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ที่กองบัญชาการทหารสูงสุด ถนนแจ้งวัฒนะ ด้วย และมีบทบาทในการเกลี้ยกล่อม พล.อ.เรืองโรจน์ ไม่ให้ตัดสินใจสู้รบกับฝ่าย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ซึ่งนำอาจนำไปสู่ความเสียหาย เสียชีวิตเลือดเนื้อของทหารไทยด้วยกันเอง



ซึ่งจากบทบาทนี้ทำให้ พล.อ.บุญสร้างได้รับฉายาว่าเป็น "วีรบุรุษ 19 กันยา" และหลังจากที่ พล.อ.เรืองโรจน์ ได้เกษียณอายุราชการไปแล้วในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2549 ภายหลังการรัฐประหารได้ไม่นาน พล.อ.บุญสร้างก็ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นคนต่อไป และได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ด้วย



พล.อ.บุญสร้าง นับได้ว่าเป็นนายทหารในกองทัพบกไทยเพียงไม่กี่คนในระดับสูงที่จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยเวสปอยต์ จากสหรัฐอเมริกา



ขีวิตส่วนตัว สมรสกับ พันเอกหญิง แพทย์หญิง นุชา เนียมประดิษฐ์

วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

อ.สาคร ยังเขียวสด


อ.สาคร ยังเขียวสด เป็นศิลปินไทย ทางด้านนาฏกรรม การแสดงหุ่นละครเล็ก เกิดปี พ.ศ.
2467 มีบุตร 9 คน บุตรชายคนที่ 7 คือนายสุรินทร์ ยังเขียวสด เป็นหัวหน้าคณะสืบทอดการ
แสดงหุ่นละครเล็ก



อ.สาคร เริ่มเข้าสู่วงการแสดงโดยเป็นเจ้าของคณะลิเก ชื่อคณะ ‘สาคร ชื่นประสิทธิ์’ แสดงเป็น
ตัวตลกประจำคณะ มีผู้เรียกชื่อเล่นเพี้ยนจาก ‘หลิว’ เป็น ‘หลุยส์’ ต่อมามีผู้ให้สมญานามว่า ‘โจ
หลุยส์’ หลังจากตั้งคณะแสดงหุ่นละครเล็กจึงนำมาใช้เป็นชื่อโรงละครว่า ‘โจหลุยส์เธียเตอร์’
ตั้งอยู่บริเวณสวนลุมไนท์บาซาร์



ทั้งนี้ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ทรงพระราชทานชื่อโรงละครโจหลุยส์ว่า ‘นาฏยศาลาหุ่นละครเล็ก’ และทรงเป็นองค์อุปถัมภ์
‘มูลนิธินาฏยศาลาหุ่นละครเล็ก’ ด้วย

อ.สาคร ได้รับยกย่องประกาศเกียรติคุณเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง
(ละครเล็ก) ประจำปี 2539 ท่านเสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 พ.ค.2550 รวมอายุ 83 ปี
อ.สาคร ถือเป็นศิลปินผู้สร้างศิลปะที่ทำให้คนรุ่นหลังได้เห็นคุณค่า เสน่ห์ และความงดงาม
ของหุ่นละครเล็ก อีกทั้งช่วยสะท้อนจิตวิญญาณของวัฒนธรรมไทยให้เป็นที่ประจักษ์แก่สากล
ได้อย่างน่ายกย่อง

วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

คึกฤทธิ์ ปราโมทย์



ศาสตราจารย์ (พิเศษ) พลตรี หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช นักปราชญ์ นักเขียน นักการเมือง และศิลปินแห่งชาติ นับเป็นปูชนียบุคคลท่านหนึ่งของไทย เป็นน้องชายแท้ ๆ ของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี 4 สมัย สื่อมวลชนจึงนิยมเรียกทั้งคู่ว่า "หม่อมพี่ หม่อมน้อง" นอกจากนี้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ และ ม.ร.ว.เสนีย์ ยังมีพี่สาวคือ ม.ร.ว.บุญรับ พินิจชนคดี (สมรสกับ พล.ต.อ.พระพินิจชนคดี หรือ พินิจ อินทรทูต)

เมื่อปลายปี พ.ศ. 2551 กระทรวงวัฒนธรรมของไทย ได้เสนอชื่อหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์เป็นบุคคลสำคัญของโลกต่อองค์การยูเนสโก [1] โดยมีทั้งเสียงสนับสนุน[2][3][4]และคัดค้าน[5] ซึ่งต่อมาในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ทางองค์dารยูเนสโกได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์เป็นบุคคลสำคัญของโลก ใน 4 สาขา ได้แก่ การศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ และสื่อสารมวลชน ในวาระครบรอบ 100 ปี ชาตกาล พ.ศ. 2554 ร่วมกับครูเอื้อ สุนทรสนาน


หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช เกิดวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2454 ในเรือกลางแม่น้ำเจ้าพระยา ณ ตำบลบ้านม้า อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็นโอรสคนสุดท้อง ในบรรดาโอรส-ธิดา ทั้ง 6 คน ของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ กับหม่อมแดง (บุนนาค) (ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นคนที่ 4) โดยชื่อ "คึกฤทธิ์" นั้น มาจากการที่ ชอบร้องไห้เสียงดังในวัยทารก จึงได้รับพระราชทานนามนี้จาก สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ

ชีวิตส่วนตัวสมรสกับ หม่อมราชวงศ์หญิงพักตร์พริ้ง ทองใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2479 มีบุตรธิดา 2 คน คือ หม่อมหลวงรองฤทธิ์ ปราโมช และ หม่อมหลวงหญิง วิสุมิตรา ปราโมช ต่อมาได้แยกกันอยู่กับหม่อมราชวงศ์พักตร์พริ้ง

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช พักอยู่ที่บ้านในซอยพระพินิจ ซึ่งเป็นซอยย่อยอยู่ในซอยสวนพลู ถนนสาทรใต้ เขตสาทร บ้านหลังนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า "บ้านซอยสวนพลู"

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ นับเป็นบุคคลที่มีบุคลิกและบทบาทที่หลากหลาย มีชื่อเสียงในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะการประพันธ์ การแสดง และยังเป็นนักการเมือง ท่านเป็นผู้ก่อตั้งพรรคก้าวหน้า เมื่อ พ.ศ. 2488 ต่อมาได้ยุบรวมกับพรรคประชาธิปัตย์ในปีถัดมา ต่อมาก่อตั้งหนังสือพิมพ์สยามรัฐ เมื่อ พ.ศ. 2493 และก่อตั้งพรรคกิจสังคม เมื่อ พ.ศ. 2517 และได้ดำรงตำแหน่งเป็น นายกรัฐมนตรี คนที่ 13 ของประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2518 โดยสามารถเป็นแกนนำตั้งรัฐบาลทั้งที่มีจำนวน ส.ส.ในมือเพียง 18 คน รัฐบาลคึกฤทธิ์ในครั้งนั้นมี นายบุญชู โรจนเสถียร ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคกิจสังคม เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีนโยบาย "เงินผัน" เป็นที่รู้จักเลื่องลือทั่วไปในสมัยนั้น

ก่อนดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยรับบทเป็น นายกรัฐมนตรี ของประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประเทศหนึ่ง ชื่อว่าประเทศ สารขัณฑ์ ในภาพยนตร์เรื่อง The Ugly American (1963) คู่กับมาร์ลอน แบรนโด เมื่อ ปี พ.ศ. 2506 และหลังพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เคยรับบทเป็นนักแสดงรับเชิญในภาพยนตร์ ผู้แทนนอกสภา กำกับโดย สุรสีห์ ผาธรรม นำแสดงโดย สรพงศ์ ชาตรี เมื่อปี พ.ศ. 2526

ระหว่างการเล่นการเมือง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ มีบุคลิกที่โดดเด่นเป็นตัวของตัวเองที่ทุกคนรู้จักดี คือ วาทะศิลป์ และบทบาทเป็นที่ชวนให้จดจำ เช่น การผวนพูดเล่นชื่อของตัวเองเมื่อมีผู้ถามว่า หมายถึงอะไร โดยตอบว่า "คึกฤทธิ์ ก็คือ คิดลึก" เป็นต้น

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ได้รับฉายาจากนักการเมือง และสื่อมวลชนมากมาย เช่น "เฒ่าสารพัดพิษ" "ซือแป๋ซอยสวนพลู" ภายหลังเมื่อมีอาวุโสสูงวัย จนสามารถแสดงความเห็นทางการเมือง ได้อย่างตรงไปตรงมา โดยไม่ต้องเกรงกลัวอิทธิพลใดๆ จึงได้รับฉายาว่า "เสาหลักประชาธิปไตย" นอกจากนี้อีกฉายาหนึ่งที่ใช้เรียก ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ในบางแห่งคือ "หม่อมป้า"

ในด้านวรรณศิลป์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ มีผลงานหนังสือที่มีชื่อเสียงระดับประเทศมากมาย ที่ได้รับการตีพิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก เช่น สี่แผ่นดิน, ไผ่แดง, กาเหว่าที่บางเพลง, หลายชีวิต, ซูสีไทเฮา, สามก๊กฉบับนายทุน และเรื่องสั้น "มอม" ซึ่งได้ใช้เป็นบทความประกอบแบบเรียนภาษาไทยในปัจจุบัน บางชิ้นมีผู้นำไปทำเป็นละครโทรทัศน์ เช่น สี่แผ่นดิน, หลายชีวิต และทำเป็นภาพยนตร์ เช่น กาเหว่าที่บางเพลง

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2538 สิริรวมอายุ 84 ปี 5 เดือน 20 วัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 กระทรวงวัฒนธรรมได้เสนอชื่อให้ท่านเป็น บุคคลสำคัญของโลก กับทาง ยูเนสโก